เมนู

บุคคลเข้าไปอาศัย ศีล ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ โภชนะ
แล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ โภชนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[240] 1. สัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ โผฏฐัพพะทั้งหลาย โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
2. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่ อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นหทยวัตถุ ฯลฯ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
อาโปธาตุ ฯลฯ กวฬีการาหาร โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อม
เกิดขึ้น.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย.
3. สัปปฏิฆธรรม และอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะและหทยวัตถุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ และหทยวัตถุ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[241] 1. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่
กายนี้ที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.